เหตุการณ์ต่างของโลกและไทย

  • 1300 BCE

    สงครามโทรจัน

    สงครามโทรจัน
    เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส
  • Period: 1300 BCE to 1200 BCE

    สงคามโทรจัน

  • 588 BCE

    เจ้าชายสิทธะตรัสรู้

    เจ้าชายสิทธะตรัสรู้
    หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา
  • 550 BCE

    พระเจ้าไซรัสมหาราช

    พระเจ้าไซรัสมหาราช
    เป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิด[7] พระองค์นำราชวงศ์อะคีเมนิดขึ้นมามีอำนาจด้วยการเอาชนะจักรวรรดิมีดซ์และรวบรวมรัฐอารยะก่อนหน้าทั้งหมดในตะวันออกใกล้โบราณ[7] ขยายดินแดนขนานใหญ่จนกระทั่งพิชิตเอเชียตะวันตกส่วนใหญ่และเอเชียกลางหลายแห่ง เพื่อสร้างสิ่งที่จะกลายเป็นหน่วยการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์สมัยนั้น
  • Period: 550 BCE to 530 BCE

    พระเจ้าไซรัสมหาราช

    หลังพิชิตจักรวรรดิมีดซ์ พระเจ้าไซรัสนำกองทัพจักรวรรดิไปพิชิตจักรวรรดิลิเดียและภายหลังจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ พระองค์ยังนำทัพไปยังเอเชียกลางที่ก่อให้เกิดการทัพที่มีการกล่าวถึงว่า "ให้ทุกประชาชาติอยู่ภายใต้การปกครองโดยไม่มีข้อยกเว้น"[8] พระเจ้าไซรัสถูกกล่าวหาว่าสวรรคตในสงครามกับ Massagetae สมาพันธ์ชนเผ่าอิหร่านตะวันออกร่อนเร่ ริมแม่น้ำซีร์ดาร์ยาในเดือนธันวาคม 530 ปีก่อน ค.ศ.
  • 509 BCE

    กรุงโรมเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐ

    กรุงโรมเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐ
    ในราวปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช ขุนนางโรมันประสบความสำเร็จในการล้มล้างกษัตริย์ อีทรัสคันองค์สุดท้าย พระนามว่า ทาควิน (Tarquin) และได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ของโรมจากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ (Republic) เป็นการปกครองโดยสภาเซเนท และพลเมืองโรมันซึ่งแตกต่างจากการปกครองโดยบุคคลคนเดียวในตาแหน่งกษัตริย์
  • Period: 509 BCE to 27 BCE

    กรุงโเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณะรัฐ

    เหตุการณ์อันเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิโรมันจึงยังเป็นประเด็นที่ต้องตีความต่อไป นักประวัติศาสตร์เสนอหลากหลายเหตุการณ์ เช่น การแต่งตั้งจูเลียส ซีซาร์เป็นผู้เผด็จการตลอดชีพเมื่อ 44 ปีก่อนคริสต์ศักราช, ความพ่ายแพ้ของมาร์ค แอนโทนีในยุทธนาวีที่อักติอูงเมื่อ 31 ก่อนคริสต์ศักราช และการมอบอำนาจเต็มแก่ออกเตเวียน (ออกัสตัส) ของวุฒิสภาโรมันภายใต้ข้อตกลงแรกเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นเหตุการณ์นิยามการสิ้นสุดสาธารณรัฐ
  • 480 BCE

    สงคราม Thermopylae

    สงคราม Thermopylae
    ยุทธการที่เทอร์มอพิลีเกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการ
  • 447 BCE

    ก่อสร้างมหาวิหารพาร์เธน่อนในกรุงเอเธนส์

    ก่อสร้างมหาวิหารพาร์เธน่อนในกรุงเอเธนส์
    วิหารพาร์เธนอนสร้างตามการริเริ่มของเพริเคิล ผู้นำกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น และสร้างโดยมีประติมากรฟีเดียสเป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ 438 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก 5 ปี บัญชีส่วนหนึ่งของการก่อสร้างครั้งนี้หลงเหลือ
  • 330 BCE

    พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย(กรีก)พิชิตอาณาจักรเปอร์เซียได้สำเร็จ

    พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย(กรีก)พิชิตอาณาจักรเปอร์เซียได้สำเร็จ
    เป็นจอมกษัตริย์กรีกโบราณแห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา เป็นสมาชิกของราชวงศ์อาร์กีด ประสูติในเมืองเพลลาในปี 356 ก่อนคริสตกาลและขึ้นสืบบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาขณะมีวัยเพียง 20 ปี อเล็กซานเดอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยของเขาไปกับการสู้รบอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน
  • 268 BCE

    พระเจ้าอโมหาราช

    พระเจ้าอโมหาราช
    อโศกมหาราช เป็นจักรพรรดิเมาริยะองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่ ป. 268 ถึง 232 ปีก่อน ค.ศ. พระองค์เป็นผู้มีบทบาทมากต่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธจักรพรรดิอโศกขยายดินแดนของจักรวรรดิจากสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะไปถึงพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออัฟกานิสถานจนถึงบังกลาเทศ เกือบทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย ยกเว้นเพียงบางส่วนของที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐทมิฬนาฑู, กรณาฏกะ และเกรละ ราชธานีในรัชสมัยคือปาฏลีบุตร (ใน มคธ, ปัจจุบันคือปัฏนา) และราชธานีชนบทที่ตักศิลา และ อุชไชนะ
  • Period: 268 BCE to 232 BCE

    พระเจัาอโศกมหาราช

    การมีตัวตนของพระเจ้าอโศกในฐานะจักรพรรดิในประวัติศาสตร์เกือบถูกลืมไปแล้ว แต่นับตั้งแต่การถอดความข้อมูลที่เขียนด้วยอักษรพราหมีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระเจ้าอโศกได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์อินเดีย ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐอินเดียดัดแปลงมาจากหัวเสาอโศกรูปสิงห์ ส่วนอโศกจักรนำมาดัดแปลงไปตั้งตรงกลางธงชาติอินเดีย
  • 232 BCE

    หลิวปังพิชิตเซียงอวี่

    หลิวปังพิชิตเซียงอวี่
    เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า "ทุบหม้อจมเรือ" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม
  • Period: 232 BCE to 202 BCE

    หลิวปังพิชิตเซียงอวี่

    ซึ่งเซี่ยงอวี่ได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏเป็นกองทัพของหลิวปังที่ได้เข้าสู่เมืองหลวงก่อน พร้อมกับได้นั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ สร้างความไม่พอใจให้แก่เซียงอวี่ ต่อมา เซียงอวี่ได้ประกาศตนเองเป็น ฌ้อปาอ๋อง อันหมายถึง "อ๋องแห่งฌ้อผู้ยิ่งใหญ่" พร้อมกับได้สถาปนาให้หลิวปังมีบรรดาศักดิ์เป็น ฮั่นอ๋อง
  • 221 BCE

    อิ๋งเจิ้ง รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอาณาจักรเดียว

    อิ๋งเจิ้ง รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอาณาจักรเดียว
    คำว่า อิ๋ง (หยิง) หมายถึง “ชัยชนะ” เจิ้ง มีความหมายถึงการเมืองการปกครอง ข้อถกเถียงเริ่มตั้งแต่ว่าแท้จริงแล้ว พระองค์เป็นบุตรนอกสมรสของหลี่ว์ปู้เหวย พ่อค้าที่ยิ่งใหญ่ซึ่งรู้จักกับจื่ออี้ ตัวประกันชาวแคว้นฉิน นักประวัติศาสตร์ถกเถียงคำถามนี้กันมายาวนาน แต่หากจะสืบสาวต้นตอของความคลุมเครือนี้ นักวิชาการส่วนหนึ่งมองว่ามาจาก “บันทึกประวัติศาสตร์” โดย ซือหม่าเซียน นักบันทึกประวัติศาสตร์และนักประพันธ์ในราชวงศ์ฮั่น ซึ่งบันทึกส่วนประวัติของหลี่ว์ปู้เหวย ขัดแย้งกับบันทึกพระประวัติจิ๋นซีฮ่องเต้
  • 221 BCE

    ฮันนิบาลแห่งคาร์เธจ

    ฮันนิบาลแห่งคาร์เธจ
    เป็นขุนพลชาวคาร์เธจโบราณ ซึ่งถือกันว่า เป็นหนึ่งในผู้นำทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เขาเป็นบุตรของแฮมิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) นายทหารชาวคาร์เธจช่วงสงครามพิวนิกครั้งแรก (First Punic War) เขายังเป็นพี่ชายของมาโก บาร์กา (Mago Barca) กับแฮสดรูบัล บาร์กา (Hasdrubal Barca) และเป็นพี่เขยหรือน้องเขยของแฮสดรูบัลคนรูปงาม (Hasdrubal the Fair)
  • Period: 221 BCE to 181 BCE

    ฮัลนิบาลแห่งคาร์เธจ

    ถือกันว่า แฮนนิบัล ตลอดจนฟิลิปแห่งแมซิดอน (Philip of Macedon), อะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great), จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar), และซิปพิโอ แอฟริกานัส เป็นนักยุทธศาสตร์ทางทหารที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ทั้งเป็นขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของแว่นแคว้นเมดิเตอร์เรเนียโบราณ ปรัชญาเมธีพลูทาร์ก (Plutarch)
  • 44 BCE

    จูเลียสซีซาร์โดนสังหาร

    จูเลียสซีซาร์โดนสังหาร
    การลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์เป็นผลแห่งการคบคิดโดยสมาชิกวุฒิสภาโรมันหลายคน มีไกอัส แคสซัส ลอนไจนัสกับมาร์คัส จูนิอัส บรูตัสเป็นผู้นำ สมาชิกวุฒิสภาเหล่านี้ใช้มีดแทงจูเลียส ซีซาร์จนเสียชีวิต ณ ที่ติดกับโรงละครปอมปีย์ในวันไอดส์มีนาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล ขณะนั้นซีซาร์เป็นผู้เผด็จการแห่งสาธารณรัฐโรมัน
  • 27 BCE

    กายุส ยูลิอุส ไกซาร์

    กายุส ยูลิอุส ไกซาร์
    กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ หรือ จูเลียส ซีซาร์ เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน ค.ศ. ซีซาร์, กรัสซุส และปอมปีย์ ตั้งพันธมิตรทางการเมืองซึ่งจะครอบงำการเมืองโรมันไปอีกหลายปี ความพยายามของพวก
  • 30

    พระเยซูสิ้นพระชนน์

    พระเยซูสิ้นพระชนน์
    เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ[2] เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง
  • 61

    โบดิก้า

    โบดิก้า
    พราสุตากัสแบ่งทรัพย์สมบัติให้ลูกสาวทั้งสอง และจักรพรรดิเนโร ด้วยความตั้งใจให้โรมันยังคงปกป้องครอบครัวและเผ่าไอซินี เพื่อสืบสานสมดุลทางการเมืองที่เคยมีต่อไป แต่กองทัพโรมันกลับบุกเข้าปล้นสะดมไอซินี ทำร้ายเฆี่ยนตีโบดิกาผู้เป็นภรรยา และข่มขืนลูกสาวทั้งสองของเขา ชาวไอซินีจึงลุกฮือขึ้นขับไล่อำนาจของโรมัน โดยมีโบดิกาเป็นผู้นำ ซึ่งจากบันทึกของ แคสเซียส ดิโอ (Cassius Dio) นักประวัติศาสตร์โรมันและสมาชิกสภา ได้เล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้นว่า กองทัพกบฏมีกว่า 280,000 คน
  • 64

    กรุงโรมไฟไหม้

    กรุงโรมไฟไหม้
    เกิดขึ้นในคืนวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 64 นักประวัติศาสตร์ แทซิทัส ได้สันนิษฐานว่าต้นตอของไฟมาจากกลุ่มร้านค้ารอบ Circus Maximus ซึ่งเป็นสนามแข่งรถม้า (Chariot Racing) [1] และเนื่องจากบ้านเรือนในกรุงโรมสมัยนั้นสร้างจากไม้ ไฟจึงลุกลามอย่างรวดเร็ว[1] ชาวโรมเกือบจะควบคุมไฟได้หลังจากไฟไหม้ดำเนินมาถึงวันที่ห้า แต่ก็ไม่สามารถดับไฟได้สนิท ทำให้ไฟเริ่มโหมใหม่อีกรอบหนึ่ง
  • 69

    โคลอสเซียม

    โคลอสเซียม
    เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน
  • Period: 69 to 80

    โคลอสเซียม

    จักรพรรดิโรม พระองค์เริ่มครองราชย์ในปี ค.ศ. 69 และด้วยความต้องการที่จะหล่อหลอมราชวงศ์ขึ้นใหม่สำหรับตระกูลของพระองค์ จึงริเริ่มการก่อสร้าง Mega Projectขึ้น และโคลอสเซียมก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น
    และนี่ทำให้โคลอสเซียมเป็นสนามกีฬาของโรมที่ใหญ่ที่สุดและแพงที่สุดเท่าที่มีการสร้างขึ้น ด้วยทรัพย์สินตั้งแต่โต๊ะไปจนถึงเชิงเทียนทองคำแท้ที่โรมปล้นมาจากการยึดพระวิหารที่เยรูซาเลม มันจุผู้คนได้ราว 50,000 คน และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 80 เพื่อใช้แทนสนามกีฬาไม้ซึ่งถูกเผาไปในรัชสมัยของ จักรพรรดิเนโรด้วย
  • 79

    ภูเขาไฟวิสุเวียสประทุ

    ภูเขาไฟวิสุเวียสประทุ
    จากบันทึกของชาวโรมันโบราณ เล่าว่า เหตุการณ์ในวันนั้น ภูเขาไฟวิสุเวียสได้พ่นกลุ่มควันพิษ ที่ประกอบด้วยเทฟรา(tephra) และก๊าซภูเขาไฟ(Volcanic gas )อันเดือดจัด ออกมาอย่างรุนแรงเป็นแนวสูงถึง 33 กิโลเมตร อีกทั้งยังพ่นหินหลอมเหลว หินพัมมิซป่นละเอียดและเถ้าภูเขาไฟ ออกมาเป็นปริมาณสูงถึง 1.5 ล้านตันต่อวินาที
  • 105

    ชาวจีนผลิตกระดาษจาเยื่อไม้

    ชาวจีนผลิตกระดาษจาเยื่อไม้
    กระดาษของชนชาติจีน เกิดขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าจักรพรรดิโฮตี ใน ค.ศ. 105 โดยชาวจีนนามว่า ไซลุง ผู้สามารถผลิตกระดาษจากการใช้เปลือกไม้และเศษแหอวนเก่าๆ นำมาต้มจนได้เยื่อกระดาษ แล้วนำไปเกลี่ยบนตะแกรงและปล่อยให้แห้ง เวลาดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ภายหลังจากการสู้รบระหว่างกองทัพจีนกับมุสลิมในสงครามทัลลัส เมื่อ ค.ศ. 751 ที่ .
  • 169

    ยุคสามก๊ก

    ยุคสามก๊ก
    ในทางวิชาการ ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยก๊กในปี ค.ศ. 220 จนถึงการพิชิตง่อก๊กโดยราชวงศ์จิ้นตะวันตกในปี ค.ศ. 280 ส่วนแรกของยุคสามก๊กที่เป็นส่วนที่ "ไม่เป็นทางการ" เป็นช่วงระหว่าง ค.ศ. 184 ถึง ค.ศ. 220 มีลักษณะเป็นการสู้รบอย่างโกลาหลระหว่างขุนศึกในหลายส่วนของจีนในช่วงการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ส่วนกลางของยุคตั้งแต่ ค.ศ. 220-263
  • Period: 169 to 280

    ยุคสามก๊ก

    ยุคสามก๊กเป็นยุคที่นองเลือดที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน[3] การสำรวจสำมะโนประชากรทั่งประเทศในปี ค.ศ. 280 หลังการรวบรวมสามก๊กเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของราชวงศ์จิ้นระบุมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,459,840 ครัวเรือนและจำนวนประชากรทั้งหมด 16,163,863 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยลงอย่างมากเมื่อเทียบกับจำนวน 10,677,960 ครัวเรือนและ 56,486,856 คนที่สำรวจเมื่อยุคราชวงศ์ฮั่น
  • 272

    จักรวรรดิคอนสแตนตินมหาราช

    จักรวรรดิคอนสแตนตินมหาราช
    ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus[3]” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสแตนตินที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสแตนตินมหาราช” หรือ “นักบุญคอนสแตนติน”
  • Period: 272 to 337

    จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช

    ตามปฏิทินศาสนาของบิแซนไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งบิแซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสแตนตินได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา
  • 516

    กษัตริย์อาเธอร์

    กษัตริย์อาเธอร์
    เป็นกษัตริย์อังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนานเล่าขานในฐานะวีรบุรุษในยุคกลาง ซึ่งได้ปกป้องเกาะบริเตนจากการรุกรานของชาวแซกซันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 รายละเอียดส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระเจ้าอาร์เทอร์ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าขาน ตำนานพื้นบ้าน และวรรณกรรมที่แต่งขึ้น
  • Period: 516 to 539

    กษัตริย์อาเธอร์

    เอกสารอีกชุดหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนข้อมูลว่า อาร์เทอร์มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ คือบันทึก Annales Cambriae ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ซึ่งเชื่อมโยงอาร์เทอร์กับการรบที่ภูเขาบาดอนเช่นเดียวกัน ในบันทึกระบุว่าการรบนี้เกิดขึ้นราว ค.ศ. 516-518 นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการรบที่คัมลานน์ ที่ซึ่งทั้งอาร์เทอร์และมอร์เดร็ดถูกสังหารในราวปี ค.ศ. 537-539 รายละเอียดเหล่านี้ช่วยสนับสนุนยืนยันต่อเหตุการณ์ใน Historia Brittonum และยืนยันว่าอาร์เทอร์ได้เข้าร่วมในการรบที่ภูเขาบาดอนจริง
  • 518

    ราชวงศ์สุยปกครองประเทศจีน

    ราชวงศ์สุยปกครองประเทศจีน
    เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1124 ภายหลังจากยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้โดยจักรพรรดิสุยเหวิน (หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง มีนครฉางอันเป็นเหมืองหลวงระหว่าง พ.ศ. 1124 - พ.ศ. 1148
  • 570

    มูฮัมมัด

    มูฮัมมัด
    เป็นผู้นำทางศาสนา สังคม และการเมืองชาวอาหรับ และผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลาม[c] หลักคำสอนอิสลามระบุว่าท่านเป็นศาสดาที่ได้รับพระวจนะเพื่อสั่งสอนและยืนยันความเป็นเอกภาพที่ถูกสอนมาตั้งแต่อาดัม, อิบรอฮีม, มูซา, อีซา และนบีท่านอื่น[3][4][5] เชื่อกันว่าท่านเป็นคอตะมุนนะบียีน โดยมีอัลกุรอานและหลักคำสอนกับหลักปฏิบัติเป็นรากฐานในความเชื่อของศาสนาอิสลาม
  • Period: 570 to 632

    มูฮัมมัด

    วิวรณ์ (อายะฮ์) ที่มุฮัมมัดได้รับจนกระทั่งเสียชีวิตได้รับการรวมรวมเป็นโองการจากอัลกุรอาน ซึ่งมุสลิมถือว่าเป็น "พระดำรัสของพระเจ้า" แบบคำต่อคำ นอกจากอัลกุรอานแล้ว หลักคำสอนและหลักปฏิบัติของมุฮัมมัด (ซุนนะฮ์) ที่พบในสายรายงาน (ฮะดีษ) และในชีวประวัติ (ซีเราะฮ์) ยังยึดถือและใช้เป็นแหล่งที่มาของกฎหมายอิสลาม
  • Period: 581 to 618

    ราชวงศ์สุยปกครองประเทศจีน

    หลังจากได้ผ่านการต่อสู้แย่งชิงแผ่นดินกันมากว่า 270 ปี ในที่สุดหยางเจียนได้สถาปนาราชวงศ์สุย รวมแผ่นดินเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง แต่ความสงบสุขมีได้ไม่นาน เมื่อสุยหยางตี้ ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อมาเต็มไปด้วยความลุ่มหลงมัวเมาในอำนาจ พร่าผลาญเงินทองในท้องพระคลังจนหมดสิ้น ใช้ทรัพยากรและแรงงานฝีมืออย่างสิ้นเปลือง ทำลายรากฐานที่สั่งสมมาจากคนรุ่นก่อน จุดไฟสงครามแย่งชิงอำนาจขึ้นอีกครั้ง
  • 603

    หลี่หยวน

    หลี่หยวน
    ใน ค.ศ. 626 องค์ชายหลี่หยวนจี๋ได้ร่วมมือกับพระเชษฐาองค์โตคือองค์ชายรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง ในการกำจัดพระเชษฐาองค์รองคือองค์ชาย หลี่ซื่อหมิน แต่องค์ชายหลี่ซื่อหมินรู้ทันจึงลวงทั้งสองพระองค์มาสังหารที่ประตูเสฺวียนอู่ใน เหตุการณ์ที่ประตูเสฺวียนอู่ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 626 และได้รับองค์หญิงหยางภรรยาหม้ายของหลี่หยวนจี๋มาเป็นภรรยาของตัวเอง สถาปนาให้เป็น 1 ใน 4 ชายาเอก พระนามว่า หยางเฟย
  • Period: 603 to 626

    หลี่หยวน

    หลี่หยวนล้มล้างราชวงค์สุยตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ ราชวงค์ถัง ในประเทศจีน
  • 748

    ชาร์เลอมาญ

    ชาร์เลอมาญ
    เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ ค.ศ. 768 จนถึงวันสวรรคต เป็นผู้ทำให้ราชอาณาจักรแฟรงก์รวมเป็นหนึ่งเดียวและเรืองอำนาจ กองทัพของชาวแฟรงก์ได้ช่วยคุ้มครองพระสันตปาปาและกรุงโรมจากการรุกรานของประเทศลอมบาร์เดีย ทำให้ศาสนจักรโรมันคาทอลิกกลายเป็นผู้สนับสนุนราชวงศ์การอแล็งเฌียง
  • Period: 748 to 814

    ชาร์เลอมาญ

  • 849

    พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

    พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช
    เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช”
  • Period: 849 to 899

    พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

  • 1028

    วิลเลี่ยน ยุคนอร์มังดี

    วิลเลี่ยน ยุคนอร์มังดี
    เป็นพระมหากษัตริย์นอร์มันองค์แรกของอังกฤษ พระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1066 จนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 1087 หลังจากที่พระองค์ตกจากหลังม้าในช่วงสงคราม พระองค์เป็นทายาทของรอลโลแห่งนอร์ม็องดี พระองค์เป็นดยุกแห่งนอร์มังดีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1035 ถึง ค.ศ. 1087 หลังจากที่พระราชบิดาของพระองค์คือรอแบร์ที่ 1 ดยุกแห่งนอร์ม็องดีเสียชีวิต โดยปี ค.ศ. 1060
  • 1088

    พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2

    พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2
    สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (อังกฤษ: Urban II) มีพระนามเดิมว่าโอโด ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1088 ถึง 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1099 พระองค์เป็นที่รู้จักจากการประกาศสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่ง และก่อตั้งสภาปกครองโรมันขึ้นในฝ่ายคริสตจักรให้มีลักษณะอย่างราชสำนัก
  • 1145

    พระสันตะปาปายูจีนที่ 3

    พระสันตะปาปายูจีนที่ 3
    พระสันตะปาปายูจีนที่ 3 ประกาศทำสึกสงครามศักดิ์สิทธิ์อีกครั้งนำโทัพโดยกษัตริย์ในยุโรป พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส, พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าสตีเฟนแห่งอังกฤษ, พระเจ้าคานุดที่ 5 แห่งเดนมาร์ก, พระเจ้าอาฟองโซที่ 1 แห่งโปรตุเกส ฯลฯ
  • Period: 1145 to 1149

    พระสันตะปาปายูจีนที่3

  • 1206

    เตมูจิน

    เตมูจิน
    เตมูจิน หลังจากรวบรวมเผ่าต่างๆของมองโกลได้เป็นอาณาจักรมองโกลได้เปลี่ยนชื่อตามสมญานามว่า เจงกีส ข่าน
  • 1279

    กุบไลข่าน

    กุบไลข่าน
    กุบไล ข่าน(หลานปู่ของเจงกีสข่าน)สามารถเอาชนะราชวงศ์ซ่งของจีน และยึดครองกรุงปักกิ่ง ปกครองประเทศจีนและสถาปนาราชวงค์หยวน ชื่อครองราชย์คือจักรพรรดิซีโจ๊วฮ่องเต้
  • 1296

    วิลเลี่ยม วอลเลซ

    วิลเลี่ยม วอลเลซ
    วิลเลียม วอลเลซ ได้เริ่มทำการต่อสู้กับอังกฤษของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดลองแชง เพื่อปลดปล่อยสก็อตแลนด์ และในอีก 9 ปีต่อมา วอลเลซโดนจับตัวได้และประหารชีวิต (เรื่องราวโดนไปสร้างภาพยนต์เรื่อง Bravehear)
  • Period: 1296 to 1305

    วิลเลี่ยม วอลเลซ

  • 1303

    สงครามครูเสด

    สงครามครูเสด
    สงครามครูเสดที่รบกันมาเรื่อยๆ 208 ปีก็สิ้นสุด ผลลัพธ์ ฝ่ายมุสลิมได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด สงครามครูเสดยุติ
  • 1337

    สงคราม100ปี

    สงคราม100ปี
    เริ่มสงคราม 100 ปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส เหตุจากการอ้างงราชบัลลังค์ฝรั่งเศสของราชวงค์กาเปเตียงสิ้นสุดลง เป็นการแย่งชิงของสองตระกูล ราชวงศ์วาลัวส์และราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท(อองชู)ที่ครองราชย์เหนือบัลลังค์อังกฤษอยู่
  • Period: 1337 to 1437

    สงคราม100ปี

  • 1347

    โรคระบายในยุโรป

    โรคระบายในยุโรป
    เริ่มเกิดกาฬโรคระบาดทั่วยุโรปทำให้ประชากร 1 ใน 3 เสียชีวิต
  • Period: 1347 to 1350

    โรคในยุโรป

  • 1368

    จูหยวนจาง

    จูหยวนจาง
    จู หยวนจาง นำทัพขับไล่มองโกลออกจากประเทศจีน สถาปนาตนเป็น จักรพรรดิหงหวู่ หรือหมิงไท่จู่ เริ่มราชวงค์หมิง
  • 1429

    พระเจ้าชาร์ลที่ 7

    พระเจ้าชาร์ลที่ 7
    พระเจ้าชาร์ลที่ 7 ขึ้นครองบัลลังค์ฝรั่งเศสด้วยความช่วยเหลือของโจนออฟอาร์คในการทำสงครามขับไล่อังกฤษออกจากฝรั่งเศส หลังจากนั้นอีก 2 ปี โจนออฟอาร์คโดนอังกฤษจับได้และประหารโดยการเผาทั้งเป็น
  • 1453

    สุลต่านเมห์เหม็ดที่2

    สุลต่านเมห์เหม็ดที่2
    สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก อาณาจักรไบเซนไทน์ล่มสลาย เป็นการเริ่มจักรวรรดิออตโตมัน
  • 1462

    อีวานที่ 3

    อีวานที่ 3
    อีวานที่ 3 ขึ้นรับตำแหน่งเจ้าชายแห่งมอสโคว ต่อมาเจ้าชายองค์นี้ได้ปลดแอกรัสเซียจากพวกตาต้าร์ ขยายดินแดนไปอีกมาก ขึ้นเป็นซาร์แห่งรัสเซีย ได้รับสมญาว่าเป็น อีวานมหาราช
  • 1462

    เจ้าชายวลาดที่3

    เจ้าชายวลาดที่3
    เจ้าชายวลาดที่ 3 ต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 วลาดเป็นนักรบที่โหดมากจนได้รับฉายาวาลาดนักเสียบ(Vlad the Impaler) เป็นเแรงบันดาลใจให้เป็นตัวละครเรื่องแดร็กคูล่า
  • 1494

    อีโอนาโด ดาวินชี่

    อีโอนาโด ดาวินชี่
    ลีโอนาโด ดาวินชี่ วาดภาพ The Last Supper ที่ผนังโบสถ์ Santa Maria delle Grazie ในเมือง มิลาน ประเทศอิตาลี่
  • Period: 1494 to 1498

    อีโอนาโด ดาวินชี่

  • 1501

    มิเกลัน เจโล

    มิเกลัน เจโล
    มิเกลันเจโล(ไมเคิ้ลแองเจโล่) แกะสลักรูปปั้นเดวิดจากหินอ่อน
  • Period: 1501 to 1504

    มิเกลัน เจโล

  • 1526

    ซาอีร์ อุด ดิน

    ซาอีร์ อุด ดิน
    ซาฮีร์-อุด-ดิน มูฮัมมัด บาบูร์ สุลต่านของโมกุลเข้าครองอินเดียตั้งราชวงค์โมกุลปกครองอินเดียถึง 331 ปี
  • Period: 1526 to

    ซาฮีร์ อุด ดิน

  • 1529

    มาร์ติน ลูเทอร์

    มาร์ติน ลูเทอร์
    มาร์ติน ลูเทอร์ ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ
  • 1558

    อาลิซาเบธ ทิวเดอร์

    อาลิซาเบธ ทิวเดอร์
    เอลิซาเบธ ทิวเดอร์ ขึ้นครองบัลลังค์อังกฤษเป็น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1
  • 1581

    ฮอลันดา

    ฮอลันดา
    ฮอลันดา(ฮอลแลนด์) ประกาศอิสระภาพจากสเปนโดยการนำของ เจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์(William of Orange) สีประจำชาติจึงเป็นสีส้ม(ประมาณนั้น)
  • กาลิเลโอ

    กาลิเลโอ
    กาลิเลโอได้ค้นพบดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีสามในสี่ดวง คือ ไอโอ ยูโรปา และคัลลิสโต
  • เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์

    เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์
    เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ ราชทูตฝรั่งเศสถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • เซอร์ ไอแซค นิวตั้น

    เซอร์ ไอแซค นิวตั้น
    เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้ตีพิมพ์ผลงานพิมพ์สำคัญชิ้นแรกคือ Philosophi Naturalis Principia Mathematica
  • การปฏิวัติฝรั่งเศส

    การปฏิวัติฝรั่งเศส
    การปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อองตัวเนตโดนประหารชีวิตด้วยกิโยติน
  • Period: to

    การปฏิวัติฝรั่งเศส

  • นโบเลียน

    นโบเลียน
    นโบเลียน โบนาปาร์ต เถลิงอำนาจขึ้นเป็นจักรพรรดิ์แห่งฝรั่งเศส กรีธาทัพยึดยุโรปได้เกือบทั้งหมด แต่นโปเลียนก็หมดอำนาจลงหลังจากแพ้สงครามวอร์เตอร์ลู ในปี 1815
  • Period: to

    นโบเลียน

  • ซามูเอล มอร์ส

    ซามูเอล มอร์ส
    ซามูเอล มอร์ส ได้พัฒนาระบบโทรเลขและจดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกา และ ซามูเอล มอร์ส เป็นผู้ให้กำเนิดรหัสมอร์ส
  • ยุควิกตอเรีย

    ยุควิกตอเรีย
    ยุควิกตอเรีย เป็นยุคที่จักรวิรรดิอังกฤษรุ่งเรืองสุดขีด มีอาณานิคมทั่วโลก จนมีคำว่า “ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน (The sun never set in the British Empire)” ปกครองโดย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
  • Period: to

    ยุควิกเตอเรีย

  • กบฏไท่ผิง

    กบฏไท่ผิง
    เกิดกบฏไท่ผิงในจีน หง ซิ่วฉวนต่อต้านราชวงค์ชิงซึ่งเป็นแมนจู สงครามนี้ดำเนินอยู่ 14 ปี มีคนตายร่วม 40 ล้านคน
  • Period: to

    กบฏไท่ผิง

  • สงครามในสหรัฐอเมริกา

    สงครามในสหรัฐอเมริกา
    เกิดสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา หลังสงครามสงบประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น โดยลอบสังหารในปี 1865
  • Period: to

    สงครามในสหรัฐอเมริกา

  • อัลเฟรด โนเบล

    อัลเฟรด โนเบล
    อัลเฟรด โนเบล ชาวสวีเดน จดสิทธิบัตรระเบิดที่เขาได้คิดค้นขึ้นมา ใช้ชื่อว่า ไดนาไมค์ เป็นการเปิดยุคระเบิดแรงสูงที่จะนำไปใช้เป็นอาวุธในเวลาต่อมา (อัลเฟรด โนเบล เป็นเจ้าของรางวัลโนเบล ที่มอบให้กับบุคคลที่สร้างคุณาประโยชน์ใช้แก่โลก รางวัลนี้เริ่มแจกหลังจากที่โนเบลเสียชีวิตลง)
  • จักรพรรดิมุสึฮึโตะ

    จักรพรรดิมุสึฮึโตะ
    พระจักรพรรดิมุสึฮิโตะ ต่อต้านอำนาจของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ ประกาศนโยบายฟื้นฟูพระราชอำนาจแห่งจักรพรรดิ ย้ายเมืองหลวงจากเกียวโต ไปเมืองเอโดะ(โตเกียวในปัจจุบัน) ใช้ชื่อรัชสมัยว่า เมจิ
  • สงครามโลกครั้งที่ 1

    สงครามโลกครั้งที่ 1
    ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นความขัดแย้งกันระหว่างสองขั้วมหาอำนาจพันธมิตร ได้แก่ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยการต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายดำเนินขึ้นในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา แปซิฟิก และพื้นที่บางส่วนของทวีปเอเชีย
  • Period: to

    สงครามโลกครั้งที่1

  • อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง

    อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง
    อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ชาวสก็อตแลนด์ค้นพบยาเพนนิซิลลิน (Penicilin) โดยสกัดจากเชื้อราชนิดหนึ่งชื่อว่าเพนนิซิลเลียม หลังจากการค้นพบนี้ เฟลมมิงได้ทั้งรางวัลโนเบลและฐานะศักดิ์เป็นท่านเซอร์(Sir.)
  • ระเบิดปรมานูญลูกแรก

    ระเบิดปรมานูญลูกแรก
    อเมริกาได้ทำการทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรกสำเร็จ(Trinity) และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน อเมริกาก็ทิ้งระบิดปรมาณูลูกแรก(Little Boy)ลงที่เมืองฮิโรชิม่าและลูกที่สอง(Fat Man)ลงที่เมืองนางาซากิ เป็นผลให้จักรวรรดิญี่ปุ่นยอมแพ้แบบไม่มีเงื่อนไขเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2
  • สงครามเกาหลี

    สงครามเกาหลี
    เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) (ได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต) และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) (ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐ) สงครามเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 เมื่อเกาหลีเหนือได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานเกาหลีใต้
  • Period: to

    สงครามเกาหลี

  • สงครามเวียดนาม

    สงครามเวียดนาม
    เป็นความขัดแย้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2498[A 2] จนกรุงไซ่ง่อนถูกยึด เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518[29] เป็นสงครามอินโดจีนครั้งที่สองและเป็นการต่อสู้ระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ เวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และจีน[7] และประเทศพันธมิตรฝ่ายลัทธิคอมมิวนิสต์อื่น เวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ไทย และประเทศพันธมิตรฝ่ายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อื่น
  • Period: to

    สงครามเวียดนาม