201042216371792177801

Thailand Curriculum

  • สุโขทัย

    สุโขทัย
    สมัยสุโชทัย จะมีการจัดการศึกษาที่ บ้าน วัด วัง และแบ่ง่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
    1.ฝ่ายอาณาจักร สำหรับผู้ชายที่เป็นทหารจะเรียนศิลปะป้องกันตัว ศึกษาตำราพิชัยยุทธ์ คัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์ ส่วนผู้หญิงให้เรียนวิชาช่างสตรี เย็บปักถักทอ กิริยามารยาท
    2. ฝ่ายศาสนาจักร ศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ความกตัญญูรู้คุณ
  • Period: to

    ยุคโบราณ

  • อยุธยา

    อยุธยา
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เริ่มมีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายภายในประเทศ จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนมิชชันนารี ขึ้น
    โดยชาวตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ศาสนา และมีการสอนวิชาสามัญควบคู่ไปด้วย
    มีการพัฒนาภาษาไทยโดยใช้หนังสือเรียนจินดามณี
  • ธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    ธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    มีชาวยุโรปเข้ามา การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรไอน้ำเข้ามา ลักษณะการศึกษาจึงมีการนำธรรมชาติวิทยา หรือวิทยาศาสตร์การศึกษา เข้ามา
  • • รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453)

    • รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453)
    ได้วางแนวนโยบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญที่สุด คือ การขยายการศึกษาทั่วในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองให้กว้างขวางออกไป และที่สำคัญที่สุดพระองค์ทรงเห็นว่า การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงและขยายออกไปให้ถึงประชาชนให้มากที่สุด
  • สมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2411-2475)

    สมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2411-2475)
    ในช่วงสมัย พ.ศ. 2411-2453ประเทศไทยมีการปฏิรูปในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง สังคม กฎหมายรวมถึงการศึกษาด้วย การศึกษาตามระบบโรงเรียนได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นรากฐานที่สำคัญทำให้เกิด
    พระราชบัญญัติประถมศึกษาในปี พ.ศ. 2464

    รัฐได้พยายามที่จะขยายการศึกษาออกไปสู่ประชาชน โดยมุ่งเน้นในระดับประถมศึกษาเป็นสำคัญ สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษามีดังนี้
    1. การคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก
    2. อิทธิพลของชาวตะวันตก
    3. การศึกษาในระบบโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษา
  • Period: to

    สมัยปฏิรูปการศึกษา

  • • รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468)

    • รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468)
    ทรงมีพระบรมราโชบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญ คือ ส่งเสริมการขยายการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วๆ ไป ออกไปให้กว้างขวาง โดยได้ออกพระราชบัญญัติบังคับเด็กเข้าเรียน ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้ทรงพยายามส่งเสริมการศึกษาด้านวิชาชีพและการศึกษาในระดับสูงขึ้นไป ได้แก่ มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งทรงส่งเสริมจัดการศึกษาเพื่อสร้างความรู้สึกรักชาติให้กับประชาชนด้วย
  • • รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2475)

    • รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2475)
    ได้ทรงวางแนวนโยบายในการจัดการศึกษาที่สำคัญ คือ ขยายการดำเนินงานตาม
    พระราชบัญญัติประถมศึกษาออกไปให้กว้างขวาง ส่งเสริมการเรียนวิชาชีพในโรงเรียนทุกระดับ
    โดยเฉพาะระดับประถมศึกษา รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ที่มุ่งเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ
  • ระยะแรกสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 - 2485)

    ระยะแรกสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  (พ.ศ. 2475 - 2485)
    นโยบายในการจัดการศึกษาในช่วง ๑๐ ปีแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะเป็นการ ขยายการศึกษาระดับ ประถมศึกษาออกไปให้มากยิ่งขึ้นและให้ความสำคัญมากกว่าระดับอื่น ส่วนในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษานั้น เป็นการขยายด้านปริมาณและปรับปรุงคุณภาพ
  • สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - 2503

    สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - 2503
    ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณญาสิทธิราช
    มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎรทุกชนชั้น และช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๓
    ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับถาวร ฉบับชั่วคราว และฉบับแก้ไข จำนวน ๑๕ ฉบับ
  • Period: to

    สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475- 2503

    ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณญาสิทธิราช มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมี
    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • ระยะที่สองสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2485- 2593)

    ระยะที่สองสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  (พ.ศ. 2485- 2593)
    ประเทศตกอยู่ภายใต้ภาวะสงคราม นโยบายการบริหารราชการ แผ่นดิน จึงเน้นหนักในด้านการทหาร และการป้องกันประเทศ ส่วนในด้านการศึกษา จึงไม่ค่อยชัดเจนนัก ภายหลังสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๘) รัฐบาลได้ปรับปรุงการศึกษาของชาติหลายประการ นโยบายในการจัดการศึกษาได้เด่นชัดขึ้นทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับ ปริมาณ และคุณภาพในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา โดยรัฐบาลต้องเอาใจใส่และทำนุบำรุง การศึกษาของชาติ ทุกระดับ
  • ระยะที่สาม (พ.ศ. 2493 - 2503)

    ระยะที่สาม (พ.ศ. 2493 - 2503)
    เป็นช่วงที่มีการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้านและทุกระดับที่ปรากฏเด่นชัดที่สุด
    ในยุคนี้ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ รวม ๓ ฉบับ คือ
    ๑. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๕
    ๒. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๙
    ๓. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๙๔
  • ในระหว่างปี พ.ศ. 2503 - 2520

    ในระหว่างปี พ.ศ. 2503 - 2520
    ได้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ๙ ท่าน เข้ามาบริหารราชการ และได้วางแนวนโยบายในการ
    บริหารงานการพัฒนาการศึกษาของชาติ โดยจัดเอาแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2503 เป็นแผนแม่บท
    ในยุคนี้ ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาหรือได้มี การประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503
    และต่อมาในการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการได้ถือเอาแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503
    เป็น แผนแม่บท และดำเนินการ
  • Period: to

    การจัดหลักสูตรการศึกษาสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน