55402b61 d5d8 4a4f b381 dcea1a2e998b

รัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑ - ๓)

  • รัชกาลที่ ๑ ขึ้นครองราชย์

    รัชกาลที่ ๑ ขึ้นครองราชย์
    • สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นปราบดาภิเษกพระองค์เองเป็น พระมหากษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์จักรี ณ ประเทศสยาม
    • รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ได้ถูกเริ่มนับ
  • กรุงเทพฯ ถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลวง

    กรุงเทพฯ ถูกกำหนดให้เป็นเมืองหลวง
    “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” หรือที่เรียกสั้นๆว่ากรุงเทพฯนั้น มีความหมายในทางดีเกี่ยวกับบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นความเชื่อทางโหราศาสตร์ในสมัยนั้นที่กล่าวว่าการตั้งชื่อมงคล จะส่งผลให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง
  • สงครามเก้าทัพกับพม่า

    สงครามเก้าทัพกับพม่า
    สงครามเก้าทัพพม่าเปรียบเหมือนสงครามที่ใช้ตัดสินชะตาของอาณาจักรสยาม ณ เวลานั้นพม่าพยายามที่จะเผยแผ่อิทธิพลของตนมาประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมไปถึงอาณาจักรสยามของเรานั่นเอง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้ทรงแบ่งทัพของไทยออกเป็นสี่ส่วน กระจายไปยังที่ต่างๆ มีการจัดการวางแผนอย่างดี จนสุดท้ายพม่าที่มีทัพมากกว่าเราก็ต้องถอยทัพกลับไปและกลายเป็นผู้พ่ายแพ้สงครามนี้ในที่สุด
  • ปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดโพธิ์)

    ปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดโพธิ์)
    มีการปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ให้เป็นที่รวบรวมและจารึกตำรายา และฤๅษีดัดตนไว้ตามศาลารายสำหรับการจัดหายาของราชการ และมีการจัดต้ังกรมหมอโรงพระโอสถ คล้ายกับในสมัยอยุธยา หมอที่รับราชการเรียกว่าหมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชนท่ัวไปเรียกว่าหมอราษฎร หรือหมอเชลยศักดิ์
  • ชำระกฎหมายใหม่ : กฎหมายตราสามดวง

    ชำระกฎหมายใหม่ : กฎหมายตราสามดวง
    มีตราประทับ ๓ ดวง คือ ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ และหัวเมืองชายทะเลตะวันออกตามลำดับ การมีตรา ๓ ดวงประทับ จึงหมายความว่า เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรของประเทศไทยในขณะนั้น
  • รัชกาลที่ ๑ เสด็จสวรรคต

    รัชกาลที่ ๑ เสด็จสวรรคต
    ชาวสยามเข้าใจผิดว่าเสด็จสวรรคตจากโรคชรา แต่จริงๆแล้วคำว่าโสพะที่หมอฝรั่งให้ความคืออาการตัวบวมซึ่งก่อตัวเป็นเวลา ๓ ปี
  • รัชกาลที่ ๒ ขึ้นครองราชย์

    รัชกาลที่ ๒ ขึ้นครองราชย์
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • ญวนส่งราชทูตมาประเทศสยาม

    ญวนส่งราชทูตมาประเทศสยาม
    ราชทูตญวนเข้ามาถวายราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งทูลขอเมืองบันทายมาศคืน ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานคืนให้
  • มีพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น

    มีพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น
    สมเด็จพรุพุทธเลิศหล้าทรงมันวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลว่าหากมีการซื้อขายฝิ่นให้แก่ประชาชน อาจเกิดการเสพติด ทำให้เป็นผลดีของพ่อค้าชาวตะวันตก เป็นการนำเงินออกประเทศ จึงได้มีการออกพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่นให้แก่ประชาชน อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม นอกเหนือไปจากนั้นคือมีการเกิดโรคอหิวาครั้งใหญ่ ประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
  • กงสุลแห่งแรกในสยาม

    กงสุลแห่งแรกในสยาม
    โปรตุเกสตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพ นับเป็นสถานกงสุลต่างชาติแห่งแรกของสยาม รัชกาลที่ 2 พระราชทานที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สมเด็จพระราชินี Maria แห่งโปรตุเกส เพื่อใช้เป็นท่าเรือสำหรับค้าขายและที่พักของกงสุลโปรตุเกส ปัจจุบันคือที่ตั้งของโกดังที่ปรับให้กลายเป็นสำนักงานของสถานทูตโปรตุเกสและทำเนียบทูต ซึ่งทำเนียบทูตหลังแรกเป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้ไผ่ แล้วก็มีชุมชนชาวโปรตุเกสตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆ มีโบสถ์กาลหว่าร์
  • ทูตอังกฤษเข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทางการค้า

    ทูตอังกฤษเข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทางการค้า
    เซอร์จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นทูตอังกฤษเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
    เพื่อให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี แต่ด้วยการแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมของครอว์เฟิร์ดทำให้การเจรจาล้มเหลวและต้องเดินทางกลับไป
  • รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต

    รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต
    สำหรับสาเหตุการสวรรคตของพระองค์นั้นยังเป็นที่น่ากังขาอยู่ อาจทำให้คนทั่วไปคาดเดาหรือสันนิษฐานสาเหตุการสวรรคตของพระองค์ไปต่างๆ นานา
  • รัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์

    รัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตลงโดยมิได้ตรัสมอบหมายการสืบราชสันตติวงศ์ไว้อย่างใด คณะพระบรมราชวงศ์ต่างกรมปรึกษาหารือเลือกสรรด้วย พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่า พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด จึงเป็นที่มาของการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ ๓
  • สนธิสัญญาเบอร์นี

    สนธิสัญญาเบอร์นี
    เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย รัฐบาลสยามลงนามใน “สนธิสัญญาเบอร์นี” (Burney Treaty) กับอังกฤษในวันนี้ นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่สยามได้ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ ผลจากการทำสนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าทั้งในเรื่องของการเก็บภาษี และการผลิตสินค้าส่งออกให้มากขึ้น
  • สิงห์ เสหเสนี ได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นให้เป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี

    สิงห์ เสหเสนี ได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นให้เป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี
    เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ ซึ่งต่อมาได้ถูกให้พระนามใหม่โดยรัชกาลที่ ๓ ให้เป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา มีความสามารถในการเจรจาโต้ตอบเชิงการทูต ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำสงคราม เพราะจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยไม่ต้องใช้กำลัง ซึ่งพื้นที่ปัจจุบันของโรงเรียนบดินทรเดชา คือพื้นที่เก่าของท่านนั่นเอง
  • สงครามไทย - ญวน

    สงครามไทย - ญวน
    สงครามไทย - ญวน หรือที่เรียกว่าอานัมสยามยุทธ เกิดขึ้นต่อเนื่องรวมเป็นเวลายาวนานถึง 14 ปี ทั้งสองฝ่ายต่างก็เสียรี้พลและทรัพยากรต่างๆเป็นอันมาก โดยไม่มีฝ่ายใดสามารถรบชนะอีกฝ่ายได้อย่างเด็ดขาด จนท้ายที่สุด สยามและเวียดนามจึงตัดสินใจเจรจาสงบศึก จากนั้นสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาร่วมกัน โดยสยามยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการสถาปนากษัตริย์เขมร แต่เขมรก็ยังต้องส่งเครื่องบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ 3 ปี ถือเป็นข้อตกลงที่น่าพอใจทั้ง 2 ฝ่าย สงครามจึงยุติลง
  • ตัวพิมพ์อักษรไทยใหม่ ละเริ่มมีการปลูกฝี

    ตัวพิมพ์อักษรไทยใหม่ ละเริ่มมีการปลูกฝี
    หมอบรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย เป็นผู้เริ่มคิดตัวพิมพ์ตัวหนังสือไทย อีกทั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยับทรงโปรดเกล้าฯให้หมอหลวงได้มีการไปฝึกปลูกฝีของหมอบรัดเลย์
  • รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต

    รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต
    พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ได้บันทึกความตอนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอาการมาก เห็นจะเป็นโรคใหญ่เหลือกำลังแพทย์จะเยี่ยวยา จึงทรงขอย้ายไปรอสวรรคตนอกพระที่นั่งทรงประทับ ด้วยเกรงพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่อาจรังเกียจ ระหว่างทรงพระกรรมฐานสมาธิภาวนานิ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เสด็จสู่สวรรคตในที่สุด